เป็นที่ทราบกันดีว่า การจะได้เข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ยกตัวตัวอย่าง เช่น ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ มีขั้นตอนของการคัดเลือกผู้สมัครเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
และนี่คือ 5 สิ่งที่น้อง ๆ อาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับการสมัครเรียนที่ ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในกลุ่ม Oxbridge ที่เรารวบรวมมาฝากกัน
1. ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับเรื่องของความสามารถทางวิชาการทั้งสิ้น
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่างการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับความสามารถทางวิชาการหรือผลการเรียน แม้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จะไม่ได้มีผลคะแนน A Level ที่ A* A* A* กันทุกคน แต่เชื่อเถอะว่า ส่วนใหญ่แล้วคือคนที่ทำได้นั้นแหละ โดยที่ออกซ์ฟอร์ด ผลเฉลี่ยของ A Level จะอยู่ที่ระหว่าง A*A*A และ AAA ในขณะที่เคมบริดจ์คือ A*AA
ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ อาจจะ offer ที่เรียนให้น้อง ๆ โดยพิจารณาจากทักษะทางด้านอื่น ๆ ความสนใจพิเศษ หรือประสบการณ์ที่น้อง ๆ มี ฯลฯ แต่ที่มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ผลการเรียน ความกระตือรือร้นและความทะเยอทะยาน คือสิ่งคณะกรรมการมองหาจากผู้สมัครเป็นหลัก (ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ A-Level)
2 มีการประเมินที่มากกว่าเรื่องของเกรดและข้อมูลจาก UCAS
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะใช้ผล A- Level (หรืออื่น ๆ ) ที่คาดว่าจะได้ และข้อมูลจากแบบฟอร์มของ UCAS เพื่อพิจารณาการ offer ให้นักเรียน แต่สำหรับมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Oxbridge ต้องมีมากกว่านั้น
ยกตัวอย่างที่ เคมบริดจ์ ที่มีการให้ผู้สมัครกรอกแบบสอบถามเพิ่มเติม หรือ Supplementary Application Questionnaire (SAQ) ในส่วนของ UCAS และจะมีการวัดการวัด AS modules และ UMS marks (การวัดเปรียบเทียบรายวิชา A- Level ที่นักเรียนทำได้ ผ่านการทดสอบแบบต่างๆ เพื่อหามาตรฐานของคะแนน) ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2017 – 2018 เป็นต้นไป โดยเคมบริดจ์จะนำการทดสอบแบบใหม่นี้เพิ่มเข้าไปในขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์ทุกหลักสูตร เช่นเดียวกับที่เคยทำมาแล้วในหลักสูตร แพทยศาสตร์ และสัตว์แพทยศาสตร์ ก่อนหน้านี้
ส่วนที่ออกซ์ฟอร์ด แม้จะไม่ได้นำคะแนน AS มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือก หรือมี SAQ เมือนเคมบริดจ์ แต่ก็มีการให้ผู้สมัครในหลายหลักสูตรทำข้อสอบเพื่อวัดผลเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ทั้งสองมหาวิทยาลัยยังอาจขอให้ผู้สมัครบางรายส่ง coursework paper หรืองานนิพนธ์ มาพร้อมกับใบสมัครด้วยอีกต่างหาก (UCAS คืออะไร อ่านเพิ่มเติม)
3. Personal Statement ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด
Personal Statement หรือจดหมายแนะนำตัว เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยให้คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้รู้จักน้องๆ ได้เห็นแบ็คกราวน์ทางการศึกษา และสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ ความพร้อมและการเตรียมตัวในการเข้าเรียนในหลักสูตรนั้นๆ
แต่ในขณะที่มหาวิทยาลัยทั่วไปใช้ Personal Statement เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา แต่มหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge กลับเลือกให้ความสำคัญกับคะแนนสอบ การสอบสัมภาษณ์ และ coursework paper มากกว่า
สำหรับมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ส่วนใหญ่จะใช้ Personal Statement เป็นไกด์ในการสอบสัมภาษณ์ ดังนั้น เพื่อป้องกันการโป๊ะแตก ขอให้น้องๆ ระมัดระวังในการเขียนจดหมายแนะนำตัว ขอให้แน่ใจว่าสิ่งที่ปรากฏในนั้นทุกอย่างเป็นเรื่องจริงทุกประการ (Personal Statement คืออะไร คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติม)
4. รูปแบบของการสัมภาษณ์เข้าเรียน มักมีลักษณะคล้ายๆ การ tutorials หรือ supervisions
อย่างที่น้อง ๆ อาจทราบกันบ้างแล้วว่า ที่ออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ จะมีคลาสพิเศษสำหรับนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่น โดยเป็นการเรียนแบบตัวต่อตัวหรือคลาสเล็ก ๆ กับผู้เชี่ยวชาญ ที่เรียกกันว่า tutorials (ในออกซ์ฟอร์ด) หรือ supervisions (ที่ เคมบริดจ์)
เช่นเดียวกัน การสัมภาษณ์ผู้สมัครเข้าศึกษาในทั้งสองสถาบัน มักจะนำรูปแบบของการเรียนการสอนดังกล่าว มาปรับใช้ในการสัมภาษณ์ด้วย เพื่อดูว่า ผู้สมัครมีความเหมาะสมกับการเรียนแบบ tutorials หรือ supervisions หรือไม่
การสอบสัมภาษณ์ที่เคมบริดจ์ มักจัดขึ้นในวิทยาลัยใดวิทยาลัยหนึ่ง และใช้เวลา 1 วันในการสัมภาษณ์ผู้สมัครทั้งหมด แต่ที่ออกซ์ฟอร์ดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน และผู้เข้ารับการสัมภาษณ์อาจถูกเรียกไปสัมภาษณ์ในหลายสถานที่ซึ่งแตกต่างกัน
5. ไม่ใช่แค่การเลือกมหาวิทยาลัย เราต้องเลือกวิทยาลัยที่จะอยู่ด้วย
ออกซ์ฟอร์ด และ เคมบริดจ์ เป็นสองในมหาวิทยาลัยที่มีโครงสร้างแบบสหวิทยาลัย (เช่นเดียวกับที่ Durham, York และที่อื่น ๆ) วิทยาลัยจะเป็นเหมือนบ้านสำหรับนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นั่นตลอดจนจบการศึกษา
เราสามารถเลือกวิทยาลัยใดก็ได้ในการสมัคร แต่สิ่งที่น้อง ๆ ควรทราบคือ ใช่ว่าทุกคนจะได้วิทยาลัยที่ตัวเองต้องการเสมอ การเลือกวิทยาลัยนั้นจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการเข้าศึกษาเป็นหลัก หากน้อง ๆ ไม่สามารถเลือกวิทยาลัยที่ต้องการได้จริง ๆ ก็สามารถส่งใบสมัครแบบ open application ได้เช่นกัน โดยให้คอมพิวเตอร์คำนวณวิทยาลัยที่เหมาะสมให้
จากเว็บไซต์ของออกซ์ฟอร์ด มีสถิติที่น่าสนใจของผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียน คือ 1 ใน 5 มักจะได้วิทยาลัยที่ตัวเองไม่ได้เลือกไว้ตั้งแต่แรก เช่นเดียวกับนักศึกษาที่เคมบริดจ์ ที่สุดท้ายไปลงเอยในวิทยาลัยที่ตนไม่ได้เลือกมากถึง 25 %
Study in the UK
สำหรับใครที่มีความฝัน หรือมุ่งมั่นที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสหราชอาณาจักร อย่าง ออกซ์ฟอร์ด เคมบริดจ์ หรือที่อื่น ๆ รวมทั้งสนใจอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร สามารถขอรับคำปรึกษาฟรีได้จาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร หรือใช้บริการ Oxbridge Service ของ SI-UK เพื่อเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกลุ่ม Oxbridge ได้เช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Oxbridge จึงได้รับการยอมรับในแวดวงการศึกษาอย่างสูง
Oxford กับ Cambridge: ความเหมือนและความต่างของสองมหาวิทยาลัยที่ทรงอิทธิพลที่สุดใน UK
ทำไม University of Cambridge จึงเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก