การสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น SOP (Statement of purpose) หรือ Personal Statement หรือการเขียนจดหมายเเนะนำตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่สำคัญในการสมัครเข้าศึกษาต่อ นอกจากคะแนน GPA, คะแนน TOEFL หรือ GRE หรือ GMAT หนังสือ Recommendation จากหัวหน้างานหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง Resume หรือ Curriculum Vitae (CV) เพราะนักศึกษาหลายคนอาจจะมีผลการเรียนและเคยมีประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นมากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นการเขียน SOP นั่นเอง
เรามาดู 4 เทคนิคที่จะช่วยเขียน SOP ให้เป็นเรื่องง่ายกัน
(อ่านเพิ่มเติม เขียน SOP หรือ Statement of Purpose ยังไงให้โปรไฟล์ของคุณดูโดดเด่น)
1. หา Gimmick ของเราให้เจอ
Gimmick (กิมมิค) ก็คือจุดช่วยจำ หรือ ลูกเล่น มีเพื่อให้เกิดการจดจำและการพูดถึง น้องๆ ต้องออกแบบโครงสร้าง SOP โดยพิจารณาจากประวัติของตัวเอง ถ้านึกภาพไม่ออกขอแนะนำแนวทาง ดังนี้ค่ะ เช่น ถามตัวเองว่า
อยากเรียนอะไร - คณะรัฐศาสตร์
ทำไมถึงอยากเรียน - เพราะเราเกิดมาในต่างจังหวัด ซึ่งความช่วยเหลือของภาครัฐเข้าไม่ถึง จึงอยากเรียนรัฐศาสตร์ ต้องการที่จะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น มีหน้าที่ผลักดันช่วยเหลือจังหวัดของเรา
ทำไมต้องเป็นที่มหาวิยาลัยนี้ - เพราะที่นี้มีวิชา Public Financial Management ซึ่งน่าสนใจมาก ปกติเด็กรัฐศาสตร์จะไม่ค่อยรู้เรื่องการเงิน ซึ่งเรามองว่าเป็นจุดอ่อน จึงคิดว่าการเรียนที่นี้หลักสูตรนี้ จะมีประโยชน์ในการแก้จุดอ่อนนั้น นอกจากนี้ยังเอามาช่วยในการพัฒนาชุมชนของบ้านเกิดของคุณ ซึ่งมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น
เรามีประสบการณ์อะไรที่เกี่ยวข้องไหม - เรามีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐในไทย ที่อาจนำมาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนในคลาสได้ นอกจากนี้ เรายังเคยทำกิจกรรม CSR เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวชนบทที่จังหวัดบ้านเกิด และทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชน โดยผลการวิจัยพบว่ามีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่นสำคัญ เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นขาดความรู้
ประเด็นที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ บางอย่างอาจดูไม่สำคัญ แต่มันคือ Passion ของตัวน้อง ๆ ที่สามารถกำหนด story line ได้จากเค้าโครงเหล่านี้ หากลองตีความจากเหตุการณ์ตัอย่างนี้ จะเห็นว่า กิมมิคของผู้สมัครคนนี้ คือการที่เขามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เคยต้องประสบกับปัญหาในด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นแรงจูงใจให้อยากเรียนด้านรัฐศาสตร์ มีเป้าหมายและพยายามพัฒนาทักษะเพื่อให้ผ่านโครงการ CSR ต่าง ๆ มองเห็นว่าจุดอ่อนชุมชน คือมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น จึงเป็นเหตุจูงใจให้ต้องการมาเรียนต่อที่นี่ หลักสูตรนี้เท่านั้น
2. พยายามทำให้คณะกรรมการจดจำ
จินตนาการว่าเรากำลังโฆษณาขายตัวเราเองให้กับมหาวิทยาลัย อันนี้เป็นเทคนิคการเขียนให้น่าสนใจ ให้นึกถึงการเขียนเรียงความให้ชนะรางวัล จะ Intro ยังไง Conclude ยังไงเขาอ่านแล้วจำเราได้จากการที่มีผู้สมัครเป็นพันๆคน เขียน SOP (Statement of Purpose) อย่างไรให้มีลุ้น!
โดยต้องเล่าเรื่องให้ดูน่าสนใจ อันนี้คือเทคนิคการเขียนที่เราจะเอาโครงสร้างเหล่านั้นมาเขียนเล่าเรื่องให้กรรมการอ่านแล้ว รู้สึกน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Intro ต้องทำให้เขาอยากอ่าน และ Conclude ต้องทำให้เขาจดจำ Conclude ของเรื่อง ต้องสอดคล้องกับ Intro ที่สำคัญน้อง ๆ ควรเขียน SOP ด้วยตัวเอง ไม่ควรนำประโยคของผู้อื่นมาดัดแปลง เพราะมันคือสิ่งที่แสดงถึงตัวเรา ลอกกันไม่ได้อยู่แล้ว ถ้ามหาวิทยาลัยพบว่าเราเอางานของคนอื่นมาใช้หรือดัดแปลง เราจะโดนมหาวิทยาลัยปฏิเสธเลยนะ และไม่ควรเขียน SOP แบบเดียว แล้วส่งให้กับทุกมหาวิทยาลัยที่เราสมัคร เพราะเหตุผลในการเลือกเรียนหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกัน เราควรสร้างความแตกต่างของ SOP แต่ละอันนะคะ
3. เราจะ Contribute อะไรให้มหาวิทยาลัยได้บ้าง
ตรงนี้เป็นจุดที่มักจะโดนมองข้าม ในการเขียน SOP ผู้เขียนเน้นบอกเพียงแต่ว่าอยากได้อะไรจากมหาวิยาลัยบ้าง ลืมบอกไปว่าเราจะให้อะไรกับมหาวิทยาลัยได้บ้าง อันนี้อาจใส่แค่สั้น ๆ ก็ได้ เช่น เคยมีประสบการณ์ในการร่วมงานกับหน่วยงานในภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งสามารถแชร์มุมมองของการพัฒนาภาครัฐใน Developing countries ให้แก่นักเรียนในคลาสได้
4. เนื้อหาบนกระดาษที่สวยงาม
พูดกันถึงเรื่องข้อมูลที่จะเขียนลงไปแล้ว มาดูกันในใบจริง ๆ ที่เราต้องส่งให้คณะกรรมการพิจารณากันดีกว่า ว่าต้องเป็นยังไง จุดแรกเลยชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร และคอร์สที่สมัครจะต้องอยู่บนหัวกระดาษเสมอ เน้นย้ำว่าควรพิมพ์ใส่กระดาษ A4 เลือก font ให้ดูน่าอ่านและเป็นทางการ ไม่ควรเขียนด้วยลายมือ ข้อความที่พิมพ์จะใช้ British English หรือ American English ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรใช้ผสมกัน พยายามใช้ประโยคและคำง่าย ๆ ได้ใจความ และตรงประเด็น ไม่ต้องใช้คำศัพท์เข้าใจยาก เพราะนี่เป็นสิ่งที่บอกมหาวิทยาลัยว่าเราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง หลีกเลี่ยงการใช้คำคม เนื้อหาใน SOP ควรเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเคยพูด
ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะทำให้การเขียน SOP นั้นง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากน้อง ๆ ยังไม่ค่อยมั่นใจในการเขียน SOP ก็สามารถใช้บริการช่วยเหลือกับพี่ๆ ทาง SI-UK พี่ๆพร้อมช่วยเช็คเรื่องการเรียงลำดับ โครงสร้าง ประโยค และสำนวนในการเขียน รวมไปถึงการตรวจสอบ Grammar ให้อีกด้วย เพียงติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อของเรา พร้อมทั้งสามารถค้นหาตัวอย่างการเขียนได้ที่นี่
Apply to Study in the UK
หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ หรือ อยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร และสาขาวิชาต่าง ๆ ประจำปี 2021 สามารถลงทะเบียนกับ SI-UK เพื่อรับคำปรึกษา ฟรี!