ในการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น Personal Statement หรือการเขียนจดหมายเเนะนำตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่สำคัญในการสมัครเข้าศึกษาต่อ เพราะนักศึกษาหลายคนอาจจะมีผลการเรียนและเคยมีประสบการณ์ที่คล้ายๆกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆก็คงจะหนีไม่พ้นการเขียน Personal Statement อย่างไรให้โดนใจกรรมการนั่นเอง
ควรเขียนอะไรบ้างใน Personal Statement?
สิ่งแรกที่คุณควรทำความเข้าใจก่อนนั่นก็คือการเขียน Personal Statement นั้นไม่ใช่การเขียนอธิบายประวัติส่วนตัวของคุณทั้งหมด แต่ให้คุณโฟกัสไปที่การเขียนถึงประสบการณ์ที่คุณได้เรียนรู้จากโรงเรียนหรือที่ทำงานโดยพยายามเขียนให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับหลักสูตรที่คุณสมัครเรียนต่อให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าที่ผ่านมาคุณมีประสบการณ์ในการทำงานหรือการเรียนที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับหลักสูตรที่คุณจะสมัครเรียนต่อก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเขียนอธิบายคุณสมบัติเฉพาะตัวคุณ ที่จะทำให้ตัวคุณนั้นเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับการเข้าศึกษาต่อได้เช่นกันค่ะ
อีกสิ่งหนึ่งในการเขียน Personal Statement ที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเขียนให้คณะกรรมการได้เห็นว่าคุณนั้นมีความกระตือรือร้นกับคณะที่คุณจะเข้าเรียน ดังนั้นการหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติความเป็นมาตั้งแต่อดีตความเป็นมา จุดเด่นของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะและหลักสูตร ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณควรจะทำเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ Personal Statement ของคุณดูดีเป็นมืออาชีพนั่นก็คือการเลือกแบบอักษร หรือ Font โดยให้เลือกเป็น Arial หรือ Times New Roman ซึ่งจะใช้ขนาดของตัวอักษรอยู่ที่ 11 หรือ 12
ความยาวในการเขียน Personal Statement
สำหรับความยาวในการเขียน Personal Statement นั้นโดยส่วนมากจะถูกกำหนดจากมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่ง ซึ่งสำหรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 400 - 600 คำ ประมาณ 4 - 5 ย่อหน้า ภายในหนึ่งหน้ากระดาษ A4 แต่สำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทอาจจะต้องเขียนประมาณหนึ่งหน้ากระดาษ อย่างไรก็ตามคุณก็ควรตรวจสอบกับทางมหาวิทยาลัยแห่งนั้นๆ ว่ากำหนดความยาวไว้เท่าไหร่ ก่อนที่จะลงมือเขียน
รูปแบบในการเขียน Personal statement
- จุดมุ่งหมายในอาชีพของคุณในอนาคต
- คุณสนใจในคณะและสาขานี้มากน้อยเพียงใด
- ที่ผ่านมาคุณได้ทำอะไรมาบ้างเพื่อเป้าหมายของคุณในอนาคต
- เหตุผลที่คุณสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้
- คุณจะใช้สิ่งที่คุณได้เรียนมาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เช็คลิสต์ส่วนสำคัญของ Personal Statement
- ใช้รูปแบบอักษร Arial หรือ Times New Roman
- ขนาดของอักษรประมาณ 11 หรือ 12
- ประมาณ 4-5 Paragraph
- ใน Personal Statement ควรเขียนเหตุผลว่าทำไมคุณถึงเลือกศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
- หลีกเลี่ยงการเขียนสิ่งต่างๆที่เป็นในเชิงลบ
- อย่าเขียนเนื้อหาที่ซ้ำกับ Resume ของคุณ
- ควรเขียนให้อยู่ในหนึ่งหน้ากระดาษ A4 เว้นแต่ว่าหลักสูตรนั้นจะกำหนดให้ผู้สมัครเขียนมากกว่า หรือน้อยกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ A4
SI-UK University Fair 2025 - งานเรียนต่ออังกฤษและสหราชอาณาจักรครั้งยิ่งใหญ่
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ เรียนต่ออังกฤษ และ UK ไม่ว่าจะเป็นระดับ ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท และ ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ UK สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานเรียนต่ออังกฤษ และ UK ได้ที่งาน SI-UK University Fair 2025 เพื่อพูดคุย ปรึกษาตรงกับตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ UK ฟรี!
กิจกรรมจะจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2568 เวลา 15:00 - 19:00 น. ที่ Grande Centre Point Terminal 21 (ฺBTS อโศก / MRT สุขุมวิท) เพียงคลิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้านล่าง หลังจากนั้น น้อง ๆ จะได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงาน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เขียน Personal Statement อย่างไรให้มีลุ้น!
6 วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ Essay ง่ายขึ้น
การขอ Biometric Residence Permits Card (BRPs) สำหรับพำนักเพื่อศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร