สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักรคงทราบกันดีว่า การเขียนจดหมายแนะนำตัวนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากในการส่งใบสมัครไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้รับการตอบรับ ถึงแม้ว่าน้อง ๆ มีผลการเรียนดีมาก ได้เกรดสูง ๆ รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว แต่การเขียนจดหมายแนะนำตัวให้โดดเด่นมีความแตกต่างจากนักเรียนคนอื่น ๆ ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้น้อง ๆ เพิ่มโอกาสในการเข้าใกล้เป้าหมายในการศึกษามากขึ้น วันนี้พี่มีเคล็ดลับง่าย ๆ ในการเขียนจดหมายแนะนำตัวมาฝากกัน
จดหมายแนะนำตัวควรเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
เริ่มแรกเลยค่ะ เราต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่จะเขียนก่อน จดหมายแนะนำตัวนั้นไม่ใช่การเขียนคำอธิบายเรซูเม่ แต่เป็นการมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมและประสบการณ์จากสิ่งที่น้อง ๆ ได้รับจากการเรียนในโรงเรียน การทำกิจกรรมระหว่างการศึกษาหรือประสบการณ์จากการทำงานค่ะ โดยที่ประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะเกี่ยวข้องต่อเนื่องและเชื่อมโยงไปสู่หลักสูตรที่น้อง ๆ สมัครเรียน หากน้อง ๆ มีประสบการณ์และทำกิจกรรมไม่มากนัก ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เพราะน้อง ๆ ก็ยังสามารถเขียนแนะตำตนเองว่าน้อง ๆ มีข้อเด่นและคุณสมบัติเหมาะสมอย่างไรบ้างค่ะ และควรบอกเหตุผลที่ทำให้น้อง ๆ โดดเด่นจากผู้สมัครคนอื่นด้วยค่ะ
ในการเขียนจดหมายแนะนำตัวนั้น ใจความสำคัญที่น้อง ๆ ควรเน้นเป็นอย่างยิ่งก็คือเขียนที่เป็นการแสดงความกระตือรือร้นและให้ความสนใจในการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ พี่เมรี่แนะนำให้น้องลองค้นคว้าข้อมูลประวัติมหาวิทยาลัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงหาข้อมูลหลักสูตรที่น้อง ๆ สนใจเอาไว้ด้วยค่ะ
สำหรับจดหมายแนะนำตัวที่ดีนั้นควรจะมีความน่าเชื่อถือ แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ ที่ควรใส่ใจอย่างการเลือกฟอนต์ตัวอักษรและขนาดก็มีผลอย่างยิ่งค่ะ ควรใช้ฟอนต์ที่ดูเป็นระเบียบและเลือกขนาดที่เหมาะสมด้วย ยกตัวอย่างเช่นฟอนต์ Arial หรือ Times New Roman ขนาด 11 หรือ 12 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ
จดหมายแนะนำตัวควรจะมีความยาวเท่าไหร่
ความยาวในการเขียนจดหมายแนะนำตัวขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ ต้องการสมัครค่ะ สำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีนั้น โดยปกติแล้วจดหมายแนะนำตัวจะมีความยาวประมาณ 400-600 ตัวอักษร แบ่งเป็น 4-5 ย่อหน้า ขนาดกระดาษ A4 ค่ะ สำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีและปริญญาโทนั้น จดหมายแนะนำตัวจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1,500 ตัวอักษร โดยน้อง ๆ ควรศึกษาให้ดีว่าแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นกำหนดความยาวของจดหมายแนะนำตัวไว้อย่างไร โดยสามารถเข้าไปเช็คในเว็บไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ค่ะ
รูปแบบของจดหมายแนะนำตัว
สิ่งที่ควรเขียนในจดหมายแนะนำตัวควรจะครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้ค่ะ
-
- เป้าหมายและความคาดหวังทางด้านอาชีพในอนาคต
- เหตุผลที่ทำให้น้อง ๆ สนใจทางด้านนี้
- มีอะไรบ้างที่น้อง ๆ ได้ทำและเรียนรู้เพื่อให้เข้าใกล้ความสำเร็จในเป้าหมายของตัวเองมากที่สุด
- เหตุผลที่น้อง ๆ สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ได้เลือกเอาไว้
- น้อง ๆ จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในทางใดบ้าง
ลองสำรวจลิสต์รายการดังต่อไปนี้เพื่อเป็นการช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยของจดหมายแนะนำตัว
- ใช้ฟอนต์ Arial หรือ Times New Roman
- ใช้ฟอนต์ขนาด 11 หรือ 12
- เขียนโดยแบ่งเป็น 4-5 ย่อหน้า
- เขียนถึงเหตุผลที่น้อง ๆ เลือกมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
- ไม่เขียนถึงข้อมูลทางด้านลบ
- ไม่เขียนข้อความซ้ำกับสิ่งที่เขียนไว้ในเรซูเม่
- ใช้กระดาษขนาด A4 โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ
เคล็ดลับเพิ่มเติม
สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมในการเขียนจดหมายแนะนำตัวที่ทำตามแล้วไม่พลาดแน่นอนมีดังนี้ค่ะ
1. ตรวจทานการสะกดคำและเช็คความถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ แนะนำให้น้อง ๆ สะกดคำให้ถูกต้องตามดิกชันนารีหรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบความถูกต้องของภาษาอีกครั้งค่ะ
2. แนะนำให้น้อง ๆ ร่างจดหมายแนะนำตัวด้วยตัวเอง จากนั้นขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะมีเวลาแก้ไขได้ทัน
3. ควรส่งจดหมายแนะนำตัวและใบสมัครก่อนเวลานะคะ ไม่ควรส่งกระชั้นชิดหรือในวันสุดท้ายของกำหนดการ
SI-UK University Fair 2025 - งานเรียนต่ออังกฤษและสหราชอาณาจักรครั้งยิ่งใหญ่
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ เรียนต่ออังกฤษ และ UK ไม่ว่าจะเป็นระดับ ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท และ ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หลักสูตร คุณสมบัติ และขั้นตอนการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ UK สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานเรียนต่ออังกฤษ และ UK ได้ที่งาน SI-UK University Fair 2025 เพื่อพูดคุย ปรึกษาตรงกับตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ UK ฟรี!
กิจกรรมจะจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2568 เวลา 15:00 - 19:00 น. ที่ Grande Centre Point Terminal 21 (ฺBTS อโศก / MRT สุขุมวิท) เพียงคลิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้านล่าง หลังจากนั้น น้อง ๆ จะได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมงาน